Get Adobe Flash player

คดีโลกคดีธรรม

 

 
 
 
 
 

Facebook สภาพุทธบริษัท

 

วัดป่าจริยธรรม


วัดป่าจริยธรรม
วัดป่าจริยธรรม
วัดป่าจริยธรรม - สภาพุทธบริษัทภาคประชาสังคมจิตอาสาแห่งประเทศไทยวัดป่าจริยธรรม - สภาพุทธบริษัทภาคประชาสังคมจิตอาสาแห่งประเทศไทย

วัดป่าจริยธรรม
วัดป่าจริยธรรม
วัดป่าจริยธรรม - สภาพุทธบริษัทภาคประชาสังคมจิตอาสาแห่งประเทศไทยวัดป่าจริยธรรม - สภาพุทธบริษัทภาคประชาสังคมจิตอาสาแห่งประเทศไทย

วัดป่าจริยธรรม - สภาพุทธบริษัทภาคประชาสังคมจิตอาสาแห่งประเทศไทยวัดป่าจริยธรรม
วัดป่าจริยธรรม
วัดป่าจริยธรรม
วัดป่าจริยธรรม

วัดป่าจริยธรรม
วัดป่าจริยธรรม
วัดป่าจริยธรรม
วัดป่าจริยธรรม
วัดป่าจริยธรรม - สภาพุทธบริษัทภาคประชาสังคมจิตอาสาแห่งประเทศไทย

วัดป่าจริยธรรม
วัดป่าจริยธรรม
วัดป่าจริยธรรม - สภาพุทธบริษัทภาคประชาสังคมจิตอาสาแห่งประเทศไทยวัดป่าจริยธรรม - สภาพุทธบริษัทภาคประชาสังคมจิตอาสาแห่งประเทศไทย
ข้อความ
  • ARI Image Slider: "System - Ninja Shadowbox" plugin isn't installed.

ความสำคัญของ วันพระ(วันธัสสัสวนะ)

วันธัมมัสสวนะ (วันพระ-วันโกน)

      วันโกน คือ วันขึ้น ๑๔ ค่ำ และแรม ๑๔ ค่ำ ของทุกเดือน (หรือ แรม ๑๓ ค่ำ หากตรง กับเดือนขาด) ซึ่งเป็นวันก่อนวัน พระ ๑ วัน นั่นเอง

      วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ กับ ๑๕ ค่ำ และ แรม ๘ ค่ำ กับแรม ๑๕ ค่ำ ของทุกเดือน (หากตรงกับเดือนขาด อาจเป็น แรม ๑๔ ค่ำ )

 ความหมาย

     วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชน เพื่อปฏิบัติ กิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า "วันธรรมสวนะ" อัน ได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยวันพระเป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทิน จันทรคติ โดยมีเดือนละ ๔ วัน ได้แก่ วันขึ้น ๘ ค่ำ, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ (วันเพ็ญ), วันแรม ๘ ค่ำ และวันแรม ๑๕ ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม ๑๔ ค่ำ)

 

 

ประวัติความเป็นมา

     วันพระนั้นเดิมเป็นธรรมเนียมของปริพาชกอัญญเดียรถีย์ (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) ที่จะประชุมกัน แสดงธรรมทุก ๆ วัน ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ซึ่งในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังคงไม่ได้ทรงวางระเบียบในเรื่องนี้ ไว้ ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลพระราชดำริของพระองค์ว่านักบวช ศาสนาอื่นมีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าพุทธศาสนายังไม่มี พระ พุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้มีการประชุมพระสงฆ์ในวัน ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ประชุม สนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันดังกล่าว โดยตามพระไตรปิฎกเรียกวันพระว่า "วันอุโบสถ" (วัน ๘ ค่ำ) หรือ "วันลงอุโบสถ" (วัน ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ) แล้วแต่กรณี

 

    หลังจากนั้น พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันธรรมสวนะสืบมา โดยจะเป็นวันสำคัญที่พุทธ ศาสนิกชนจะไปประชุมกันฟังพระธรรมเทศนาจากพระสงฆ์ที่วัด ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่าได้มีประ เพณีวันพระมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

    วันพระในปัจจุบัน คงเหลือธรรมเนียมปฏิบัติอยู่แต่เฉพาะประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท เช่น ศรีลังกา, พม่า, ไทย, ลาว และเขมร (ในอดีตประเทศเหล่านี้ถือวันพระเป็นวันหยุดราชการ) โดยพุทธศาสนิก ชนเถรวาทนับถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญที่จะถือโอกาสไปวัดเพื่อทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ และฟังพระ ธรรมเทศนา สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในพระพุทธศาสนาอาจถือศีลแปดหรือศีลอุโบสถในวันพระด้วย นอกจากนี้ ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใดๆ โดยเชื่อกันว่าการทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาป มากกว่าในวันอื่น

ในประเทศไทย หลังจากวันพระได้ถูกยกเลิกไม่ให้เป็นวันหยุดราชการ ทำให้วันพระที่กำหนดวันตาม ปฏิทินจันทรคติส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับปฏิทินที่ใช้กันอยู่ทั่วไป (เช่น วันพระไปตรงกับวันทำงานปกติ) ซึ่งคือหนึ่งในสาเหตุสำคัญในปัจจุบัน ที่ทำให้พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยห่างจากการเข้าวัดเพื่อทำบุญในวันพระ

    นอกจากนี้ ในประเทศไทยยังมีคำเรียกวันก่อนวันพระหนึ่งวันว่า วันโกน เพราะปกติในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ ปกติ ก่อนวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ในประเทศไทยที่จะโกนผมในวันนี้

 

บทบาทของพระภิกษุในการเผยแผ่พระพุทธศาสน

     พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา มีหน้าที่ศึกษาปฏิบัติธรรมเผยแผ่คำสอนสืบต่อพระ พุทธศาสนา มีคุณธรรมและหลักความประพฤติที่ต้องปฏิบัติมากมายหน้าที่ของพระภิกษุที่สัมพันธ์กับคฤหัสถ์ ได้แก่ การให้ความอนุเคราะห์ชาวบ้าน ตามหลักปฏิบัติในฐานะที่พระภิกษุเป็นเสมือนทิศเบื้องบนได้แก่

 

 

     ๑. ห้ามปรามสอนให้เว้นจากความชั่ว คือ งดเว้นจากการเบียดเบียนกัน ไม่ทำลายทั้งชีวิตตนเองและผู้อื่น

     ๒. แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี งดเว้นอบายมุข ๖

     ๓. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดีด้วยน้ำใจอันงามโดยยึดถือหลักสังคหวัตถุ ๔

     ๔. ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ไม่เคยฟัง คือ สอนให้รู้จักแยกแยะมิตรแท้ มิตรเทียม ให้คบบัณฑิตเพื่อ ประโยชน์ในการดำรงชีพ

     ๕. ชี้แจงอธิบายทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ในสิ่งที่สดับเล่าเรียนมาแล้ว เช่น การแสวงหาทรัพย์โดยวิธีสุจริต การรู้จักรักษาทรัพย์ และการดำรงชีวิตตามฐานะ

     ๖. บอกทางสวรรค์ให้ คือ การแนะนำวิธีครองตน ครองคน ครองงาน หรือวิธีครองชีวิตให้ได้รับผลดีมีความสุข

 

บทบาทของพระภิกษุในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา อาจทำได้ดังต่อไปนี้

     ๑. การปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเมื่อพระภิกษุประพฤติปฏิบัติชอบตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วย่อม นำมาซึ่งความเลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนและบุคคลผู้พบเห็นโดยทั่วไป

     ๒. การสั่งสอนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การเทศนา ปาฐกถาธรรม หรือเผยแผ่ธรรมทางสื่อมวลชน

     ๓. การทำกิจกรรมอันเป็นการสงเคราะห์ชาวบ้าน เช่น ช่วยสร้างสิ่งสาธารณประโยชน์ เป็นผู้นำชาวบ้านในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ เช่นรักษาป่า ขุดลอกหนองบึง ส่งเสริมอาชีพสุจริต ตั้งกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ธนาคารข้าว ธนาคารโคกระบือ เป็นต้น

     ๔. จัดกิจกรรมอันเป็นประเพณีและศาสนพิธีในโอกาสต่าง ๆ เช่น วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เพื่อให้ชาวบ้านได้ทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาร่วมกัน อันจะทำให้เกิดความรักสามัคคีในหมู่บ้าน ชุมชน สังคม รวมทั้งการถือโอกาสเทศนาธรรมสั่งสอนให้งดเว้นจากอบายมุข ให้ประพฤติดี หลีกหนีความชั่ว

     ๕. การเป็นผู้นำในการปฏิบัติธรรม เช่น ฝึกสมาธิเพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงพระพุทธศาสนา

 

การแสดงธรรมและการปาฐกถาธรรม

     การแสดงธรรมและการปาฐกถาธรรมของพระภิกษุ สามารถกระทำได้ทั้งภายในวัดและภายนอกวัด

 

     การเผยแผ่ภายในวัด เช่น มีการแสดงพระธรรมเทศนาในวันธรรมสวนะ มีการบรรยายธรรมหรือพระธรรมเทศนาในวันอาทิตย์ ตั้งศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นต้น

     ส่วนการเผยแผ่ภายนอกวัด เช่น การสนทนาธรรมตามบ้านเรือนประชาชนในโอกาสอันสมควร การบรรยายธรรมหรือการแสดงพระธรรมเทศนาตามที่มีผู้นิมนต์การแสดงธรรมหรือการปาฐกถาธรรมของพระภิกษุ หมายถึง การกล่าวสั่งสอนหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อให้พุทธศาสนิกชนสามารถนำเอาหลักธรรมคำสอนเหล่านี้ไปประพฤติ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีความสันติสุข พระภิกษุจึงมีหลักการและวิธีการที่แสดงธรรม ดังนี้

 

    ๑. ภิกษุผู้แสดงธรรมจะต้องเป็นผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ

    ๒. แสดงธรรมตามหลักธรรมที่พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้

    ๓. แสดงธรรมโดยเคารพต่อผู้ฟังธรรม ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นชนชั้นใด ไม่แบ่งแยกชั้นวรรณะ

    ๔. แสดงธรรมตามหลักองค์ธรรมกถึก คือ ธรรมที่ผู้แสดงธรรมควรตั้งไว้ในใจ 5 ประการคือ

         ๔.๑ แสดงธรรมไปตามลำดับ คือแสดงหลักธรรมหรือเนื้อหาวิชาตามลำดับความง่ายยาก มีเหตุผลสัมพันธ์ต่อเนื่องกันเป็นลำดับ

         ๔.๒ ชี้แจง ยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ คือ ชี้แจงให้เข้าใจชัดในแต่ละแง่แต่ละประเด็น โดยอธิบายขยายความตามแนวเหตุผล

         ๔.๓ แสดงธรรมด้วยเมตตา คือ สอนผู้ฟังด้วยจิตเมตตา มุ่งจะให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังอย่างแท้จริง

         ๔.๔ ไม่แสดงธรรมด้วยการเห็นแก่อามิส คือ สอนโดยไม่หวังผลประโยชน์ตอบแทน

         ๔.๕ แสดงธรรมไม่กระทบตนและผู้อื่น คือ สอนตามหลักเนื้อหาวิชา มุ่งแสดงธรรม ไม่กล่าวยกย่องตนเองและไม่กล่าวเสียดสี กล่าวข่มผู้อื่น หรือกล่าว“ยกตนข่มท่าน”

 

 

    ๕. แสดงธรรมโดยยึดลักษณะการสอนของพระพุทธเจ้า เรียกว่า อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ๓ ประการคือ

        ๕.๑ ผู้แสดงธรรมต้องมีความรู้อย่างแท้จริง และสามารถถ่ายทอดความรู้ของตนให้กับผู้อื่นรู้แจ้งเห็นจริงตามด้วย

        ๕.๒ แสดงธรรมด้วยเหตุและผล ไม่กล่าวเลื่อนลอย หรือกล่าวโดยไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจน

        ๕.๓ แสดงธรรมให้เห็นจริง มองเห็นชัดเจนจนต้องยอมรับ และนำไปปฏิบัติให้ได้ผลจริง

 

    ๖. ผู้แสดงธรรมจะต้องประกอบไปด้วยความดี ๓ ประการคือ ไม่มีราคะ (ความกำหนัด) ไม่มีโทสะ (ความคิดประทุษร้าย ) ไม่มีโมหะ (ความหลงผิด)

 

    ๗. แสดงธรรมโดยหลักการสอน ๔ วิธีคือ

        ๑) สอนด้วยวิธีละมุนละม่อม

        ๒) สอนด้วยวิธีรุนแรง (สอนโดยการว่ากล่าวตักเตือน)

        ๓) สอนด้วยวิธีละมุนละม่อมและรุนแรง

        ๔) ฆ่าเสีย (สอนโดยไม่ว่ากล่าวตักเตือนสั่งสอนบุคคลนั้นเลย)

 

 

   ๘. เมื่อแสดงธรรมถ้าจะระบุถึงบุคคล จะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ ๖ ประการคือ

       ๘.๑ เพื่อแสดงถึงการกระทำของคนโดยเฉพาะตัว

       ๘.๒ เพื่อแสดงถึงอนันตริยกรรม (กรรมหนัก เช่น ฆ่าบิดามารดา เป็นต้น)

       ๘.๓ เพื่อแสดงถึงพรหมวิหาร ๔ (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)

       ๘.๔ เพื่อแสดงถึงบุพเพนิวาสานุสติญาณ (เป็นบุพเพสันนิวาส)

       ๘.๕ เพื่อแสดงถึงทักขิณาวิสุทธิ (ความบริสุทธิ์ของการทำบุญ)

       ๘.๖ เพื่อไม่ละทิ้งสมมติของโลก (สิ่งที่สมมติขึ้น)

 

    ๙. การแสดงธรรมตามหลักการแสดงของพระพุทธเจ้า ๒ ประการคือ แสดงธรรมแบบย่อ (เฉพาะหัวข้อ) และแสดงธรรมโดยพิสดาร (แสดงแยกแยะหัวข้อธรรม)

   ๑๐. ไม่แสดงธรรมในเรื่องราวที่พระภิกษุไม่ควรสนทนากัน เช่น เรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องสงคราม เป็นต้น

    ๑๑. แสดงธรรมในสิ่งที่เป็นคุณ เป็นประโยชน์ ต่อผู้ฟัง

    ๑๒. แสดงธรรมและฟังธรรมด้วยความเคารพ

 

การประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างของพระภิกษุ

    ๑. พระภิกษุมีเพศต่างจากคฤหัสถ์ สลัดแล้วซึ่งฐานะ ควรเป็นอยู่ง่าย จะจู้จี้ถือตัวเอาแต่ใจตนไม่ได้

    ๒. ความเป็นอยู่ของพระภิกษุต้องพึ่งพิงผู้อื่น ต้องอาศัยเขาเลี้ยงชีพ ควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย และบริโภคปัจจัย ๔ โดยพิจารณา ไม่บริโภคด้วยตัณหา

    ๓. พระภิกษุมีอากัปกิริยาที่พึงทำต่างจากคฤหัสถ์ อาการกิริยาใด ๆ ของสมณะ พระภิกษุต้องทำอาการกิริยานั้น ๆ และยังจะต้องปรับปรุงตนให้ดียิ่งขึ้นไปกว่านี้

    ๔. พระภิกษุติเตียนตัวเองได้โดยศีล

    ๕. เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ผู้เป็นวิญญูชน พิจารณาแล้ว ยังติเตียนได้โดยศีล

    ๖. พระภิกษุจักต้องมีความพลัดพรากจากของรักของชอบใจไปทั้งสิ้น

    ๗. พระภิกษุมีกรรมเป็นของตน หากทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตามจักต้องเป็นทายาทของกรรมนั้น

    ๘. วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้พระภิกษุทำอะไรอยู่ (ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์หรือไม่)

    ๙. พระภิกษุยินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่

   ๑๐. คุณวิเศษยิ่งกว่ามนุษย์สามัญที่พระภิกษุบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่ ที่จะให้เป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมื่อถูกเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง พุทธศาสนิกชนสามารถนำข้อวัตรปฏิบัติของพระภิกษุทั้งสิบประการดังกล่าวมา นำเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งจะทำให้เกิดความเจริญแก่ผู้ประพฤติปฏิบัติ

หน้าที่ในการปฏิบัติและเผยแผ่พระพุทธศาสนา

     เมื่อฝึกฝนอบรมตนให้พร้อมทั้งด้านศีล สมาธิ และปัญญาแล้ว พระสงฆ์ยังจะต้องปฏิบัติภารกิจที่สำคัญ คือ การเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า การเผยแผ่พระธรรมจะได้ผลดีนั้น พระสงฆ์ต้องทำตนให้เป็น "กัลยาณมิตร" คือเพื่อนที่แท้ ที่คอยชี้แนะแนวทางให้พุทธศาสนิกด้วยความหวังดี ซึ่งขอกล่าวโดยสรุป ๕ ประการ คือ

 

 

     ๑) สร้างศรัทธาในพระพุทธศาสนาและทำตนเป็นตัวอย่างที่ดี พระสงฆ์ต้องพยายามชักชวนและชี้แจงให้ประชาชนเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ให้มั่นใจในหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา เช่น ถ้ามีบางคนเช้าใจว่าพระพุทธศาสนาสอนหลักธรรมที่สูงเกินไปกว่าสามัญชนจะปฏิบัติได้ ก็ชี้แจงให้เขาเข้าใจว่า ที่จริงแล้วพระพุทธศาสนาสอนธรรมะไว้ถึง ๓ ระดับ คือ

ระดับพื้นฐาน เน้นไปที่การประสบความสำเร็จ การมีความสุขแบบชาวโลก การพึ่งตนได้ทางเศรษฐกิจระดับกลาง เน้นไปที่ความมีคุณธรรมจริยธรรม ระดับสูง เน้นไปที่การลดละกิเลสได้เด็ดขาด ธรรมะคำสอนของพระพุทธศาสนาจึงเหมาะแก่คนทุกระดับ ใครพอใจหรือมีความสามารถปฏิบัติได้แค่ไหนก็เอาแค่นั้น แล้วค่อยพัฒนาให้ก้าวสูงขึ้นไปตามลำดับ

 

      อนึ่ง วิธีสร้างศรัทธาที่ดีที่สุดก็คือการสอนด้วยตัวอย่าง พระสงฆ์ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ งดงามไปด้วยศีลสมบูรณ์ไปด้วยคุณธรรม มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ถึงจะไม่สั่งสอนอะไรใครมาก ก็ทำให้ผู้พบปะเสวนา ด้วยเกิดความเลื่อมใสได้เป็นอย่างดี

 

     ๒) สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในบางครั้งบางคนอาจจะไม่เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา มิใช่เพราะพระพุทธศาสนาสอนไม่ดี แต่เพราะไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิด จึงเหมาเอาว่า พระพุทธศาสนาไม่ดี ไม่น่าเลื่อมใสศรัทธา ยกตัวอย่างเช่น กล่าวหาว่าพระพุทธศาสนาสอนหลักธรรมที่ขัดกับการพัฒนาคนและสังคม เพราะพระพุทธศาสนาสอนให้กำจัดตัณหา โดยเขาให้เหตุผลว่า การจะพัฒนาอะไรได้นั้น ต้องเร้าให้คนเกิดความอยาก เกิดความต้องการ เมื่อต้องการมากๆก็จะกระทำหรือ พัฒนาตนมากขึ้นเอง พระพุทธศาสนาสอนให้ละความอยากก็เท่ากับสอนให้คนงอมืองอเท้า ไม่สร้างสรรค์นั่นเองพระสงฆ์ผู้เผยแผ่ธรรมะจะต้องสามารถชี้แจงให้เกิดความเข้าใจให้ได้ว่า ความอยากที่เรียกว่า "ตัณหา" นั้น เป็นความโลภและทุจริต คนที่อยากด้วยอำนาจความโลภและทุจริต ย่อมจะกระทำการอะไรเพื่อตนเองและสร้างความเดือดร้อนแก่สังคมเป็นอย่างมาก ถ้ายิ่งเร้าให้คนเกิดความอยากชนิดนี้มาก

เท่าใด สังคมก็จะเต็มไปด้วยคนโลภ คนทุจริต คนที่เอารัดเอาเปรียบสังคม หาความสงบสุขได้ยาก ความอยากอย่างนี้ พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้พยายามลดละให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ความอยากสร้างสรรค์เช่น อยากทำความดี อยากช่วยเหลือคนอื่น อยากเรียนหนังสือให้มีความรู้มากๆเพื่อออกไปรับใช้ชาติ ท่านเรียกว่า "ธรรมฉันทะ" คนที่มีความอยากชนิดนี้เป็นคนไม่โลภ ไม่ทุจริต จะตั้งหน้าตั้งตาทำงานด้วยความขยันหมั่นเพียร ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ความอยากชนิดนี้เท่านั้นที่สนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างแท้จริง สรุปให้เข้าใจง่ายๆก็คือ "พระพุทธศาสนาสอนให้กำจัดความ อยากที่เรียกว่าตัณหาแต่ให้พัฒนาความอยากที่เรียกว่า ธรรมฉันทะ"

 

     ๓) สอนให้ละความชั่ว คนทุกคนชอบความดีเกลียดความชั่ว แต่ทั้งๆที่ชอบความดีเกลียดความชั่ว ในบางครั้งบางคนก็อดทำความชั่วไม่ได้ เพราะความหลงผิดบ้าง เพราะจิตใจไม่เข้มแข็งพอบ้าง หน้าที่ของพระสงฆ์อีกประการหนึ่งก็คือ พยายามหาวิธีให้คนละทำความชั่วแต่ให้พึงทำความดีให้ได้ สิ่งใดบอกให้เข้าใจได้ก็บอก สิ่งใดบอกด้วยปากไม่ได้ผลก็ต้องทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ดังกรณีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เดินไปเห็นเนื้อติดบ่วงนายพรานอยู่จึงปล่อยเนื้อตัวนั้น แล้วเอาบ่วงผูกขาตนเองแทน เมื่อนายพรานเจ้าของบ่วงมาพบเข้า จึงสำนึกว่าท่านมาแสดงปริศนาธรรม มาสั่งสอนตนให้งดเว้นการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ซึ่งนายพรานก็ยอมทำตามคำสั่งสอนของสมเด็จพระพุฒาจารย์ จึงเลิกอาชีพการเป็นนายพรานนับตั้งบัดนั้น ดังนี้เป็นต้น

     ๔) สนับสนุนให้ทำความดี พระสงฆ์ต้องสร้างเสริมกำลังใจให้คนทำความดี มีเทคนิควิธีแนะนำที่เหมาะแก่บุคคล เพราะคนเรานั้นมีพื้นฐานและความสนใจไม่เหมือนกัน ผู้สอนจึงต้องรู้จักปรับวิธีการแนะนำสั่งสอนให้เหมาะแก่คนแต่ละคนว่าจะเป็นเรื่องใด ดังกรณีผู้ปฏิบัติสมาธิ บ่นกับอาจารย์สอนสมาธิรูปหนึ่งว่า เขาหมดกำลังใจปฏิบัติแล้ว ยิ่งปฏิบัติเท่าใดก็มีแต่ความฟุ้งซ่าน ไม่ได้ผลอะไรเลย อาจารย์ตอบว่า "อย่างน้อยโยมก็ได้แล้ว คือได้ความรู้ว่าจิตโยมฟุ้งซ่าน ถ้าปฏิบัติต่อไปเรื่อยๆโยมก็อาจจะได้มากกว่านี้ ขอให้ทำต่อไปเถอะ ความดีมิใช่ว่าทำได้ในภายในวันสองวัน อย่างนี้เป็นต้น

 

     ๕) สร้างบุคลากรที่มีคุณภาพไว้สืบทอดพระพุทธศาสนา ถึงพระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้วพระธรรมวินัย (พระพุทธศาสนา) ก็ยังคงอยู่ เพราะได้รับการปฏิบัติสืบต่อกันมา พุทธบริษัททั้งหลาย โดยเฉพาะภิกษุบริษัทมีหน้าที่สืบทอดพระพุทธศาสนาโดยตรงจึงต้องสร้างศาสนทายาทที่มีคุณภาพไว้ด้วยศาสนทายาทที่มีคุณภาพจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ คือ

    ๑. มีความรู้พระพุทธศาสนาดี

    ๒. มีความประพฤติดี สามารถปฏิบัติตามหลักพระพุทธศาสนาจนได้รับผลแห่งการปฏิบัติ

    ๓. มีความสามารถในการถ่ายทอด คือ ชี้แจงหลักการของพระพุทธศาสนาให้คนอื่นเข้าใจได้

    ๔. เมื่อมีภัยเกิดขึ้นแก่พระพุทธศาสนา พร้อมที่จะปกป้อง

 

การสร้างบุคลากรไว้สืบทอดพระพุทธศาสนานั้นเปรียบได้ดั่งตระกูลที่ไม่มีทายาทสืบทอด แม้จะมั่งคั่งมั่นคงเพียงใดในเบื้องต้น ที่สุดก็จะอยู่ไม่ได้ เฉกเช่นเดียวกับพระพุทธศาสนา แม้จะมีคำสอนที่ดีวิเศษเพียงใด ถ้าขาดศาสนทายาทสืบทอดต่อๆกันมา ก็สูญสลายไปเช่นนั้น" ฉะนั้น พระสงฆ์ที่มองการณ์ไกลท่านจึงพยายามสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพ ไว้สืบทอดพระพุทธศาสนาให้มั่งคงสถาพรต่อไป

เข้าสู่ระบบ

สภาพุทธบริษัทคืออะไร

สถานที่รับสมัครสมาชิก

รายชื่อสถานที่รับสมัคร
สมาชิกสภาพุทธบริษัท
ทั่วประเทศไทย

สถานที่รับสมัครสมาชิกสภาพุทธบริษัท

Facebook

Google Plus

YouTube

อัลบั้มรูป

ใบสมัครสภาพุทธบริษัท

สถิติผู้เข้าชม

28029676
วันนี้
เมื่อวาน
อาทิตย์นี้
อาทิตย์ก่อน
เดือนนี้
เดือนก่อน
รวมทั้งหมด
4328
38183
42511
27782277
309012
894031
28029676

Your IP: 3.137.171.147
Server Time: 2024-11-11 02:41:26

สงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่โดย สภาพุทธบริษัท ภาคประชาสังคมจิตอาสา ๒๕๕๗

    

กำลังออนไลน์

มี 361 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์